วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การสวดมนต์

1. ปรับใจให้มีความเชื่อ ความศรัทธาในพระคาถาให้มากที่สุดว่าพระคาถาที่จะสวดนี้เป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นของศักดิ์สิทธิ์จริง ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตน และคนอื่น เป็นที่พึ่งที่ดีที่สุด สำหรับชีวิตเรา
2. ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นว่า ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน มีแต่อุปสรรค มีแต่ปัญหา มีแต่ความทุกข์มากมายเกิดขึ้นอยู่เสมอ บุญมีจริงบาปมีจริง ทุกชีวิตล้วนต้องการความสุข ความสำเร็จ ความสมหวังกันทั้งนั้น การสวดมนต์เป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นเหตุให้ได้มาซึ่งความสุขความสำเร็จ มาสู่ชีวิตเราได้ คนไม่รู้จักสวดมนต์ จะมีแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อนเกิดขึ้นกับชีวิตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
3. จงมีความอดทน เพียรพยายามสวดให้ได้ทุกวัน อย่าให้ขาดมากน้อยขอให้ได้ได้สวด การสวดมนต์นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก มันมีอุปสรรคเกิดขึ้นขัดขวางต่อผู้สวดมนต์ ยิ่งถ้าเป็นคนมีกรรมมีเวรมาก ยิ่งลำบากแต่เป็นการลำบากแต่ในช่วงสองสามอาทิตย์แรกเท่านั้น ผ่านไปได้ก็จะดี รู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ไม่ทรมาน ขอจงอดทน มีสัจจะให้มากไว้เตือนตัวเองอยู่เสมอๆ ว่าเราต้องทำได้ เพื่อชีวิตของเรา
4. ไม่ต้องอธิษฐานหรือปรารถนาอะไรทั้งสิ้น การสวดมนต์ไม่ใช่การอ้อนวอนต่อรองเรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการสร้างบุญสร้างบารมีเพิ่มพลังบุญ พลังความศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดขึ้นกับตนเอง การสวดมนต์เป็นการทำเหตุปัจจัยจัดระบบชีวิตให้ดี ให้ถูกต้องเท่านั้น ส่วนผลนั้นจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เหมือนการรับประทานยา เหมือนการปลูกต้นไม่ ขอเพียงรับประทานให้ตรงตามเวลา โรคย่อมหาย ดูแลต้นไม้ให้ดีถูกต้องตามกรรมวิธี ผลดอกย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน การสวดมนต์ก็เป็นนั้น
5. จะสวดเวลาไหน ที่ไหนก็ได้ (ยกเว้นในห้องน้ำ) จะอยู่ในอิริยาบถไหนก็ได้เช่นเดียวกัน ขอให้ใจเราพร้อมและมีเวลาสะดวก จะสวดวันละกี่ครั้งก็ได้ จงสวดเถิดไม่มีความผิดใดๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีห้องพระในบ้านก็สวดในห้องพระ จัดเครื่องสักการบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน ตามสมควรได้ยิ่งเป็นสิ่งที่ดี
6. จะสวดในใจ หรือสวดออกเสียงก็ได้ แล้วแต่กาลเวลาและสถานที่ จะพนมมือหรือไม่พนมมือก็ได้ แจจะยกมือไว้สักครั้งก่อนสวดก็ได้เป็นการดี ถ้าอยู่ในบ้าน ใสสถานที่พร้อม ก็ควรพนมมือสวดควรตั้งนะโม ฯลฯ สัมมาสัมพุทธัสสะฯ สามครั้งก่อนสวดทุกๆ ครั้ง ที่มีการสวดมนต์บทใดบทหนึ่ง
7. จะถือหนังสือดูสวดก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรพยายามท่องจำให้ได้ในแต่ละบท หรือบทหนึ่งบทใดก็ได้ ที่ตนเองชอบ เป็นสิ่งที่ดีมาก

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

วันแห่งความสุข

Have a wonderful day!
“ไม่ใช่เพราะมันยาก เราถึงได้กล้าทำ แต่เพราะถ้าเราไม่กล้า มันก็เลยยิ่งยาก"



หกหยวน
วันหยุดนี้ เขาได้นั่งเครื่องบินกลับมาเยี่ยมแม่ที่บ้าน คิดว่าจะอยู่บ้านเฉยๆ อยู่เป็นเพื่อนแม่ดูทีวี หรือคุยกันเรื่อยเปื่อย
วันรุ่งขึ้น แม่ชวนเขาไปเป็นเพื่อนซื้อไข่ไก่ พอได้ยิน เขาอดยิ้มไม่ได้ ที่สำนักงาน เขาคือกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีเลขาฯ และคนขับรถส่วนตัว แต่เขาก็ยังพยักหน้ารับ “ได้ครับ แม่”
พอออกจากบ้าน แม่ก็บอกว่า “ต้องไปซื้อที่ซุปเปอร์...โน้นนะ”
เขาถามว่า “ทำไมไม่ซื้อที่ซุปเปอร์ใกล้บ้านเราเล่า”
แม่กระพริบตา ทำท่าเหมือนผู้ชนะ บอกว่า
“ก็ที่ร้านโน้นไข่ไก่ถูกกว่า ชั่งละสามหยวนสองเอง แต่ที่ร้านนี้ตั้งสามหยวนสี่”
เขาทำท่าห่อปาก แบบว่าโอ๊ะโอ๋ เพิ่งรู้นะเนี่ย พอเดินมาถึงข้างถนน เขาทำท่าจะโบกมือเรียกรถแท็กซี่
แต่แม่บอกว่า “ไปรถเมล์สาย 12 กันเถอะนะ”
เขาถาม “ทำไมต้องสาย 12 ด้วย”
แม่บอกว่า “สาย 12 เป็นรถรับ-ส่งของทางห้างนี้ ไม่ต้องเสียค่ารถ..
ถ้านั่งรถสายอื่น ต้องเสีย 2 หยวน”
เขาอดยิ้มไม่ได้ แต่ก็บอกกับแม่ไปว่า “ดีครับ”
หลังจากซื้อไข่ไก่ได้ 10 ชั่ง แม่ดึงให้เขานั่งรอที่เก้าอี้หน้าห้าง บอกว่า “ต้องรออีก 1 ชั่วโมง...
รถสาย 12 คันเดิมถึงจะกลับมารับอีก”
ต้องรออีกตั้ง 1 ชั่วโมง เขารู้สึกหัวใจร้อนรุ่มคุกรุ่นขึ้นมาทันที
แต่ก็ข่มใจไว้ ใช้ความอดทนข่มจิตให้เย็นลง
แม่ก็ชวนเขาคุยไปเรื่อย พูดถึงเรื่องราวตอนที่เขายังไปโรงเรียน
...เผลอแผล็บเดียว เวลา 1 ชั่วโมงก็ผ่านไปเร็วเหมือนกัน ในที่สุด ก็ได้นั่งสาย 12 กลับมาบ้าน
พอถือไข่ไก่เหล่านั้นลงจากรถได้ เขาเป่าปากระบายอย่างโล่งอก
คุณแม่ดูเหมือนจะมีความสุขมาก นับนิ้วให้ฟังว่า
“ไข่ไก่ 10 ชั่งประหยัดไปได้ 2 หยวน ประหยัดค่ารถไปกลับสองคนอีก 4 หยวน....
รวมแล้วประหยัดตั้ง 6 หยวน”
...แต่ในสมองเขากลับคิดคนละอย่าง ตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงตอนนี้
ปาเข้าไป 4 ชั่วโมง หากให้เขาใช้เวลา 4 ชั่วโมงนี้ ในที่ทำงาน เขาสามารถทำเงินได้อีกไม่ต่ำกว่าหมื่นหยวน.. เขาได้แต่แอบถอนใจเบาๆ


ตอนใกล้จะถึงบ้าน เดินผ่านร้านขายผลไม้ร้านหนึ่ง แม่ใช้เงิน 6 หยวนซื้อแตงโมลูกโตลูกหนึ่ง
...พอกลับถึงบ้าน จัดแจงผ่าแตงโมทันที เนื้อแตงโมแดงสด น่ารับประทานมาก ตัวเขาเองรู้สึกกระหายน้ำตั้งนานแล้ว ก็เลยไม่ฟังอีร้าค่าอีรม หยิบแตงโมได้หนึ่งชิ้น ก็งับเลย แตงโมหวานมาก

เขากินแบบตะกรุมตะกราม เหมือนหมูเลย นานแล้วที่ไม่ได้กินผลไม้อย่างฉ่ำใจเช่นนี้
พอเงยหน้า เห็นแม่กำลังมองเขาอยู่ ในตามีแววเปียกชื้น บนหน้ากลับระบายไปด้วยความสุขและเปี่ยมรัก
ทันไดนั้น ใจเขาเหมือนเส้นพิณที่ถูกดีดจนสั่นสะท้าน ภาพแบบนี้ เคยเห็นที่ไหนมาก่อนนะ
ตอนยังเล็ก ฐานะทางบ้านยากจน และเขาเป็นเด็กที่กินเก่งมาก มาก
ตอนเย็นๆ เขามักแอบไปเก็บเอาแตงโมที่บ้านอื่นกินเหลือแต่เปลือก
เอามาล้างในคลอง แล้วแทะกินอย่างตะกละ

...พอแม่รู้เข้า แม่ใช้เวลา 3 วันเพื่อที่จะทอเส้นเชือก แล้วเอาไปขายเพื่อซื้อแตงโมมาให้เขา
แล้วนั่งดูเขากินอย่างเอร็ดอร่อยเหมือนหมู
...เขาจ้องดูแม่ด้วยความสะท้าน กลืนแตงโมที่เต็มปากลงไป ทันใดนั้น เขารู้สึกว่าเขาเริ่มเข้าใจคุณแม่บ้างแล้ว ยามยากลำบาก แม่ขยันและอดออม ส่งให้เขาเรียน เลี้ยงดูเขาจนเติบใหญ่ พอเริ่มมีอันจะกิน ความขยันและอดออม ได้กลายเป็นรูปแบบดำรงชีวิตของแม่ ที่ยังคงทำให้แม่พอใจและมีความสุขอยู่เสมอ
รอยยิ้มผุดขึ้นบนใบหน้าของเขา รู้สึกดีใจมากที่วันนี้ยอมอยู่เป็นเพื่อนแม่
ทำให้แม่ประหยัดเงินได้ 6 หยวน....
...เงิน 6 หยวนนี้ เทียบกับการที่ตัวเองสามารถหาได้เป็นหมื่นหยวน จากการทำงาน คุณค่าไม่ต่างกันเลย...
เพราะ บางที.. เวลาและเงินทอง จะมีค่าก็ต่อเมื่อมีรักด้วยเท่านั้น


หากว่าคุณ... ยังมีผู้ใหญ่ให้ชื่นชม ก็ไปเยี่ยมท่านบ้าง และ อย่าไปตำหนิท่านที่ไม่ทันสมัย (เหมือนเรา) เลย
เพราะจริงแล้ว ความไม่ยอมทันสมัยของท่านนั่นแหละ ที่จุนเจือให้คุณได้ทันสมัยในวันนี้

Have a wonderful new year!
Séneca
Ksd.thsmc
December 2009


ขอให้ทุกท่านจงประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดไป.

หลวงปู่ทวด

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี


ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม " หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด "
คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
ชาติกาล 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
ชาติภูมิ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
บรรพชา เมื่ออายุได้ 15 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี
มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225
สิริรวมอายุได้ 99 ปี


คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด
ธรรมประจำใจ
พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์


ละได้ย่อมสงบ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ


สันดาน
ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได ้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง
ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก


ชีวิตทุกข์
การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ
จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้งฟัน ล้างมือ
เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้าน
ก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ
นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย


บรรเทาทุกข์
การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเอง และเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่า สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ


ยากกว่าการเกิด
ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก
เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย

ไม่สิ้นสุด
แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด
กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น

ยึดจึงเดือดร้อน
ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโนน่ ยึดนี่
ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรมสากล
จักรวาลโลกมนุษยนี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก
สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม
ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน
เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า
สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ

อยู่ให้สบาย
ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น
เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย
อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์
เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง

ธรรมารมณ์
การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์ คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง
อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือ รู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ
ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆ แล้ว
ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์

กรรม
ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างทีว่า
เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว
ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง

มารยาทของผู้เป็นใหญ่
ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง
มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก
คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ

โลกิยะ หรือ โลกุตระ
คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้
คนที่เดินทางโลกิยะ ย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ?
ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว
ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ?
ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ ?
แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน
เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง

ศิษย์แท้
พิจารณากายในกาย พิจารณาธรรมในธรรม พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ
นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

รู้ซึ้ง
ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ
เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา

ใจสำคัญ
การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์
จะต้องทำด้วยความศรัทธา
ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้นเกินความคาดหมาย
หยุดพิจารณา
คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน
และถ้าภาวะนั้น ตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือ หยุดพิจารณา
แล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้

บริจาค
ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอก
การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน
เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ
การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอก
นี่คือเรื่องของนามธรรม

ทำด้วยใจสงบ
เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ
อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ
เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ
นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้ว ปัญญาก็เกิด
เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก

มีสติพร้อม
จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม
คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ
อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผล มาอยู่เหนือความจริง

เตือนมนุษย์
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีง านทำในไม่ช้า
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า

พิจารณาตัวเอง
คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร
ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่า ที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร
คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น
เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง


จากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของหลวงปู่ทวด

ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
ธรรมะของหลวงปู่ทวด อ่านแล้วบอกต่อ เพื่อเป็นธรรมทาน