วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คนมีบุญ


           โบราณกล่าวว่า   "แข่งเรือแข่งพายนั้นแข่งได้ แต่แข่งบุญวาสนาแข่งไม่ได้ เพราะคนเรา มีบุญวาสนา หรือบารมีไม่เท่ากัน ถึงแข่งกันไป ก็สู้กันไม่ได้ ปัญหามีอยู่ว่า คนมีบุญคือคนเช่นไร

           ในทัศนะทางศาสนากล่าวว่า คนมีบุญคือ คนที่ได้ทำเหตุดีไว้มาก ได้สะสมความดี มาโดยตลอด ทั้งในอดีต และปัจจุบันกล่าวโดยรวบยอดก็คือ ได้สร้างเหตุแห่งบุญไว้ ๒ ประการ คือ   
           ๑. เหตุในอดีต ที่เรียกว่า ปุพเพกตปุญญตา เป็นผู้เคยทำความดีมาก่อน กล่าวคือ ผู้ใดเคยสั่งสม อบรมบุญบารมี มาแต่ชาติปางก่อน เช่น เคยให้ทาน รักษาศีล อบรมภาวนา เคยช่วยเหลือ คนอื่นมามาก ดังเช่น พระเวสสันดร เป็นต้น เมื่อเกิดในชาตินี้ ผู้นั้นจึงได้รับ ผลดีตอบสนอง เช่น ทำให้เกิดมา ในตระกูลที่ร่ำรวย มีรูปร่างดีสมประกอบ มีสติปัญญาดี เป็นต้น หรือผู้ใดเคยทำ ความดีเช่นนั้นไว้ ในชาตินี้เอง แต่ทำมาตั้งแต่ สมัย เป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นสาว เช่น เคยมีความขยันอดทน มีความมัธยัสถ์ มีน้ำใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เคยช่วยเหลือ คนอื่นมามาก ก็ได้ชื่อว่าสร้างบุญ สร้างความดี มาก่อนเหมือนกัน และย่อมได้รับ ผลตอบสนอง ในสมัยอายุมากขึ้น หรือในตอนแก่ชรา
           ๒. เหตุปัจจุบัน ที่เรียกว่า อัตตสัมมาปณิธิ เป็นผู้ตั้งตนไว้โดยชอบ กล่าวคือ เป็นผู้ประพฤติตัวดี วางตัวดี ตั้งอยู่ในศีลธรรม ประกอบอาชีพโดยสุจริต มีความขยันอดทน อ่อนน้อม มีความซื่อสัตย์ จริงใจเป็นนิสัย เป็นต้น ผู้ที่วางตัว ประพฤติตนได้ อย่างนี้มาโดยตลอด ชื่อว่าได้สร้างเหตุ แห่งบุญไว้ดีแล้ว

           ผู้ทำเหตุไว้ครบทั้งสองประการ เรียกว่า เป็นผู้มีบุญโดยแท้ ย่อมได้รับผล ตอบสนองในโลกนี้เอง กล่าวคือ
           ๑. อยู่ดี คืออยู่ที่ไหนก็อยู่สบาย ไม่มีใครรังเกียจ มีเพื่อนฝูงมิตรสหายมาก ไม่ถูกรังแก มีแต่คนไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นต้น
           ๒. ไปดี คือจะไปที่ไหน ก็ได้รับความสะดวก ได้รับความปลอดภัย ไม่มีอุปสรรค เทวดาตามรักษาคุ้มครอง ไปถึงไหนก็มี คนต้อนรับด้วยดี
           ๓. ได้ดี คือ จะทำอะไรก็สำเร็จ มีคนคอยช่วยเหลือ สามารถตั้งตัวได้เร็ว เจริญก้าวหน้า ในตำแหน่งหน้าที่ได้เร็ว กิจการต่างๆ ก็ดำเนินไปได้ดี และมักจะได้อะไรดีๆ ที่คนอื่นไม่ค่อยได้ 

           เพราะฉะนั้น พระท่านจึงสอนว่า หากต้องการ เป็นคนมีบุญเช่นนี้บ้าง ก็จงประกอบบุญเถิด อย่าละเลยบุญ และอย่าประมาท ในชีวิตเลย 
............................................

บุญ


      คำว่า บุญ หมายถึง สิ่งที่ชำระจิตใจให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองเมื่อทำแล้วทำให้จิตใจสบาย มีความสุข มีความเจริญก้าวหน้า เป็นเหตุให้ถึงสุคติภูมิ และถึงความสิ้นกิเลสได้ เมื่อกล่าวโดยย่อ บุญจึงเป็นชื่อของความสุขนั่นเอง  
       พระพุทธศาสนา ได้แสดงหลักหรือแหล่งแห่งบุญไว้ ๑๐ ประการ คือ 
๑. การให้ทาน 
๒. การรักษาศีล 
๓. การอบรมจิตใจให้สะอาดสงบ สว่าง 
๔. การประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน 
๕. การให้ความช่วยเหลือผู้อื่น 
๖. การแผ่ความปรารถนาดีให้บุคคลอื่น 
๗. การชื่นชมยินดีในความดีที่บุคคลอื่นทำ 
๘. การฟังธรรม 
๙. การแสดงธรรม 
๑๐. การทำความเห็นของตนให้ถูกต้อง 

       คนทั่วไปมักเข้าใจแต่เพียงว่าการให้ทาน เช่น การทำบุญตักบาตร การบริจาคสิ่งของ การทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้นเท่านั้น จึงจะก่อให้เกิดบุญ ความเข้าใจเช่นนี้ถูกต้องตามหลักศาสนาเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การกระทำอีกเก้าข้อที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาศีล การอบรมจิตใจให้สะอาดสงบสว่างแม้กระทั่งการทำความเห็นให้ถูกต้อง ก็ล้วนเป็นแหล่งให้เกิดบุญทั้งสิ้น เพราะทุกครั้งที่ทำบุญเหล่านั้น จิตใจจะได้รับการชำระให้เกลี้ยงเกลาเบาบางจากกิเลสไปพร้อมกัน โดยใจความบุญเหล่านั้นเป็นบทฝึกเพื่อพัฒนาพฤติกรรมแต่ละด้านของคนให้ประณีตดีงามขึ้นไปตามลำดับ 

        ดังนั้น จึงไม่ควรมองบุญเฉพาะในแง่หวังผลศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์ดลบันดาลแล้วมุ่งทำบุญด้วยการให้ทานเพียงด้านเดียว แต่ควรมองอย่างเป็นระบบแล้วขวนขวายทำบุญให้ครบทุกด้าน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีบุญอย่างแท้จริง และบุญนี่แหล่ะจะนำพาชีวิตให้ประสบความสุข ดังคำพระที่กล่าวไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากลัวบุญเลย เพราะคำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข 
................................................

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทำวัตรเช้า


คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
             พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น องค์ใด เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
             พระธรรเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
             พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
             ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระรินิพพุโตปิ
             ข้าพแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา
             ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคันหาตุ
              ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
              เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ
.............................................

                อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
                                พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
                พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
                                ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
(กราบ)
                สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
                                พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
                ธัมมัง นะมัสสามิ
                                ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
(กราบ)
                สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
                                พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
                สังฆัง นะมามิ
                                ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์
(กราบ)
.............................................
คำทำวัตรเช้า ปุพพภาคนมการ
หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส
                เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด
.............................................
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต                      ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ         ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
(กล่าว ๓ ครั้ง)
.............................................
๑.พุทธาภิถุติ
หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส
                เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะ พระพุทธเจ้าเถิด
.............................................
โย โส ตะถาคะโต                     พระตถาคตเจ้านั้นพระองค์ใ
อะระหัง                                    เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ                        เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน            เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต                                     เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู                                   เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ    เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง             เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ                                        เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา                                     เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมา ระกัง สะพรัหมะกัง สัสสะมะณะ พราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ
                                               พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ใด ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
โย ธัมมัง เทเสสิ                       พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัลยาณัง                           ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัลยาณัง                         ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัลยาณัง                ไพเราะในที่สุด
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ
                                               ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ(คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ(หัวข้อ)
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ    ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ  ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระพุทธคุณ  พร้อมกับกล่าวว่า “พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา” ในใจ)
๒.ธัมมาภิถุติ
หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส
                เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะ พระธรรมเถิด
.............................................
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม   พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก                                           เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก                                             เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก                                          เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก                                         เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ                  เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ              ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ           ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้นด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระธรรมคุณ  พร้อมกับกล่าวว่า “พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา” ในใจ)
๓.สังฆาภิถุติ
หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส
                เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะ พระสงฆ์เถิด
.............................................
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ          พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านันหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ               พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ               พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง                                                        ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา     คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ *
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ          นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย**                                      เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย***                                    เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย****                                 เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย                                เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ     เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ               ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ            ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า
    (กราบระลึกพระสังฆคุณ  พร้อมกับกล่าวว่า “พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา” ในใจ)
    *          สี่คู่คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล/  สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล/ อนาคามิมรรค อนาคามิผล/ 
                อรหัตตมรรค อรหัตตผล
    **        อ่านว่า  อา-หุ-ไน-โย          
    ***      อ่านว่า  ปา-หุ-ไน-โย             
    ****    อ่านว่า  ทัก-ขิ-ไน-โย
๔. รตนัตตยัปปณามคาถา
หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะวัตถุปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส
      เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคำนอบน้อมพระรัตนตรัย และบาลีที่กำหนดวัตถุ เครื่องแสดงความสังเวชเถิด
.............................................
พุทโธ สุสุทโธ กะรุษามะหัณณะโว     พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก          เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก
วันทามิ พุทธั อะหะมาทะเรนะ ตัง      ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน      พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก    จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน ส่วนใด
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน     ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง    ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆ สุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต     พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก       เป็นผู้เห็นพระนิพพาน ตรัสรู้ตามพระสุคต หมู่ใด
โลลัปปะหิโน อะริโย สุเมธะโส           เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง    ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
อิจเจวะเมกันตภิปูชะเนยยะกัง  วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา
                                                                     บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม คือ พระรัตนตรัยอันควร บูชายิ่งโดยส่วนเดียว ได้กระทำแล้วเป็นอย่งยิ่ง เช่นนี้ ขออุปัทวะ(ความชั่ว) ทั้งหลาย จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น
.............................................
๕. สังเวควัตถุปริกิตตนปาฐะ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน          พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ                      เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก                   และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก                  เป็นเครื่องสงบจากกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต            เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ  พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ ทุกขา                                               แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา                                             แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระฌัมปิ ทุกขัง                                     แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา        แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข                   ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข                         ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันทา ทุกขา          ว่าโดยย่อ อุปานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์
เสยยะถิทัง                                                  ได้แก่สิ่งเหล่านี้
รูปูปาทานักขันโธ                                     ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป
เวทะนูปาทานักขันโธ                              ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา
สัญญาปาทานักขันโธ                              ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ                              ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ                           ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ                                     เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธะระมาโน โส ภะคะวา                         จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวัง พะหุลั สาวะเก วิเนติ                     ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พระหุลา ปะวัตตะติ
                                                                     อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนคือ การจำแนกอย่างนี้ว่า
รูปัง อะนิจจัง                                             รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจัง                                      เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา                                        สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา                                      สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง                                   วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา                                            รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนา อะนัตตา                                     เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญา อะนัตตา                                        สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขารา อะนัตตา                                      สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง อะนัตตา                                  วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ สังขารา อะนิจจา                          สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ                             ธรรมทั้หลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตนดังนี้
เต (สำหรับผู้หญิงใช้ ตา) มะยัง โอติณณามหะ            พวกเราทั้งหลายเป็นผู้เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
ชาติย                                                           โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ                                      โดยความแก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
                                                                     โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย
ทุกโขติณณา                                               เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว
ทุกขะปะเรตา                                            เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ
                                                                     ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏชัด แก่เราได้

(บทสวดต่อสำหรับ อุบาสก อุบาสิกา)
จิระปะระนิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา
                                                                     เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ                                 ถึงพระธรรมด้วย ถึงพะสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะโต สาสะนัง  ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
                                                                     จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ                                 ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
                                                                     จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.
(จบคำทำวัตรเช้า)

(บทสวดต่อสำหรับ ภิกษุ สามเณร)
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง
                                                                     เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น
สัทธา อะคารัสมา อะนะคาริยังปัพพะชิตา   เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว
ตัสมิง ภะคะวะติ พรหมมะจะริยัง จะรามะ  ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ภูกขูนัง สิขาสาชีวะสะมาปันนา           ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย
ตัง โน พรหมมะจะระยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตูติฯ
                                                                     ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแหงกองทุกข์ทั้งสิ้นเทอญ
.............................................

ขี้เกียจได้ดี


         มีนิทานเล่าว่า หน่วยงานแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบฝ่ายต่าง ๆ มากพอ สมควร และตามปกติจะมีหัวหน้าเดินตรวจตามแผนกอยู่เสมอ ที่แผนกรถยนต์ในหน่วย งานนั้นเอง มีพนักงานขี้เกียจอยู่คนหนึ่ง เขามีเอกลักษณ์พิเศษ คือ สามารถนอนหลับ ได้ทุกที่ โดยที่หัวหน้าตรวจไม่พบ วันหนึ่งเวลาเที่ยงเศษ ๆ พนักงานผู้นั้นได้มุดเข้าไป  นอนหลับใต้ท้องรถด้านหน้า ส่วนขาก็โผล่ให้เห็นถึงสะเอว มองดูผิวเผินเหมือนคน กำลังซ่อมรถ ขณะนั้นหัวหน้าผู้ตรวจงานก็เดินตรวจมาถึงแผนกรถยนต์ เห็นเหตุการณ์นั้น เข้าพอดี ก็นึกเอาเองว่าพนักงานคนนี้ช่างขยันแท้ ไม่ยอมหยุดพักทั้ง ๆ ที่ได้เวลาพักแล้ว  อย่างนี้ต้องให้ ๒ ขั้น และก็เป็นจริงตามนั้น

         เรื่องขี้เกียจได้ดีนี้มีแต่ในนิทานเท่านั้น ในชีวิตจริงมีได้ยาก แม้หากจะมีจริง คนขี้เกียจก็อาจหลอกได้แต่ ผู้บังคับบัญชาบางคน แต่ไม่อาจจะหลอกตัวเองได้เลยว่าตนได้ดีเพราะความขี้เกียจ ทั้งเป็นสิ่งที่น่าละอายใจอย่างยิ่งสำหรับผู้มีความประพฤติเช่นนั้น  เพื่อนร่วมงานก็ตำหนิติเตียนเอาได้ สำหรับผู้ขี้เกียจก็จะต้องสำรวจตน พัฒนาตน และพยายามทำงานให้ดีที่สุด อย่าได้คิดว่า "แอบนอนทุกวันก็ได้ขั้นเหมือนกัน" เพราะถ้าคิดเช่นนั้น ก็เท่ากับว่าเขาเป็นคนขี้เกียจโดยสันดาน เอาเปรียบเพื่อนร่วมงานอยู่เป็นอาจิณ และเป็นที่รังเกียจของเพื่อน ๆ

       พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อมั่นในผลของการกระทำ คือทำอย่างไรได้อย่างนั้น ทำงานดี ผลงานก็ดี อยากได้อะไร อยากเป็นอะไร ต้องลงมือกระทำให้สมเหตุสมผล มิใช่นอนคอยโชควาสนา หรือเพ้อฝันลม ๆ แล้ง ๆ ผู้รู้ได้ให้ข้อคิดไว้ว่าคนเราควรจะตั้งความปรารถนาในทางที่สร้างสรรค์และไม่เอาเปรียบใคร เช่น
       - ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนคิดอยากได้ดีอะไรลอย ๆ นั่งนอนคอยโชควาสนาโดยไม่ลงมือทำความดี หรือไม่เพียรพยายามสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตน ถ้าข้าพเจ้า จะได้ดีอะไรก็ขอให้ได้เพราะทำความดีอย่างสมเหตุสมผลเถิด
       - ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนลืมตน ดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ซึ่งอาจด้อยกว่าใน ทางตำแหน่ง ฐานะการเงิน หรือทางอื่นใดก็ตาม ขอให้ข้าพเจ้ามีความเห็นอกเห็นใจคน อื่น ให้เกียรติเขาตามความเหมาะสม
       - ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีน้ำใจเข้มแข็งอดทน ไม่บ่นไม่คร่ำครวญในยามมีความ ลำบากเกิดขึ้น ขอให้มีกำลังใจต่อสู้กับความยากลำบากนั้น ๆ โดยไม่ต้องอ้อนวอนให้สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์มาช่วย

       ฉะนั้น เมื่อคนเราได้ตั้งความปรารถนาในทางที่ถูกต้องและได้ลงมือกระทำตาม สมควรแก่เหตุผลแล้ว ผลจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ผู้กระทำย่อมรู้เอง ทั้งผู้รู้ก็สรรเสริญคน เช่นนั้น

จริต


           ว่ากันว่า เวลาฝนตั้งท่าจะตกใหญ่ ลิงจะหักกิ่งไม้ที่มีใบสดๆ มาทำซุ้ม และจะเอาใจใส่ส่วนที่เป็นหลังคา เป็นพิเศษ มันจะส่องดูใต้หลังคาอย่างระมัดระวัง ถ้าพบช่องพบรูแม้นิดเดียว มันจะ หักกิ่งไม้ มาแซมเสริม เป็นอย่างดี แต่เมื่อฝนตกลงมาจริงๆ แทนที่ลิงจะลงไปอยู่ใต้หลังคา กลับขึ้นไปนั่งตากฝนอยู่บนหลังคา หน้าตาเฉย ถ้าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ก็แสดงว่า ลิงมันมีอุปนิสัยของมันเอง ซึ่งบางทีมนุษย์เราอาจไม่เข้าใจ

           มนุษย์ก็มีอุปนิสัยแตกต่างกัน หากอยากทราบว่า ตนเองมีอุปนิสัยอย่างไรแล้ว ท่านให้สังเกตปฏิกิริยาครั้งแรก ที่เรามีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะนั่นคือ ภาพสะท้อนอุปนิสัยของคนเรา ทางพระพุทธศาสนา เรียก อุปนิสัย นี้ว่า "จริต" มี ๖ ประการ ด้วยกันคือ
           ๑. คนราคจริต - มีอุปนิสัยรักสวยรักงาม มีอารมณ์ศิลปิน มองอะไรต่างๆ ในแง่ดี
           ๒. คนโทสจริต - มีอุปนิสัยใจร้อน โกรธง่าย มองอะไรในแง่ร้าย ชอบความรุนแรง
           ๓. คนโมหจริต - มีอุปนิสัยเซื่องซึม ทำ พูด หรือคิดอะไรมักขาดเหตุผล หลงติดสิ่งใดสิ่งหนึ่งง่ายๆ 
           ๔. คนสัทธาจริต - มีอุปนิสัยใจอ่อน เชื่อง่าย ถูกชักจูงง่าย อารมณ์ อ่อนไหวง่า
           ๕. คนพุทธิจริต - มีอุปนิสัยหนักแน่น ชอบคิดค้นหาเหตุผลของสิ่งต่างๆ ไม่เชื่อใครง่ายๆ ชอบถกเถึยงโต้แย้ง
           ๖. คนวิตกจริต - มีอุปนิสัยจับจด วอกแวก ชอบคิดฟุ้งซ่าน วิตกกังวล

           อุปนิสัยหรือจริตของคน ทั้ง ๖ มีลักษณะทั้งสร้างสรรค์และทำลาย ทั้งบวกทั้งลบ คนๆ หนึ่งอาจมีหลายจริตได้ แต่จะมีจริตชนิดหนึ่ง เป็นตัวนำเสมอ ดังนั้น ควรพิจารณาด้วยใจเป็นกลางว่า เราเป็นคนประเภทไหน มีจริต ชนิดไหนนำหน้า แล้วหาทางส่งเสริมจริตที่เป็นฝ่ายสร้างสรรค์ และพยายามระวัง ยับยั้งจริตที่เป็นฝ่ายทำลาย ไม่ให้เกิดขึ้น ก็สามารถประคองตัวเอง ให้อยู่รอดปลอดภัยและเจิรญ 

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีทำสมาธิแบบง่าย



ทำสมาธิเพื่อให้จิตสงบ มีพลัง มีประโยชน์ ในปัจจุบันคือทำให้ใจสบาย คลายทุกข์ หนักแน่น มั่นคง อารมณ์แจ่มใส ความจำดี ทำงานมีประสิทธิภาพ สุขภาพดี นอนหลับสบาย เรียนหนังสือเก่ง และได้บุญ
วิธีนั่ง ให้นั่งขัดสมาธิ คือ ขวาทับซ้ายนั่งตัวตรงหลับตาเอาสติมาจับอยู่ที่สะดือที่ท้องพอง ยุบ เวลาหายใจเข้าท้องพอง กำหนดว่า พอง หนอ ใจนึกกับท้องที่พองต้องให้ทันกั้นอย่าให้ก่อนหรือหลังกัน หายใจออกท้องยุบ กำหนดว่า ยุบ หนอ ใจนึกกับท้องที่ยุบต้องทันกันอย่าให้ก่อนหรือหลังกัน ข้อสำคัญให้สติ จับอยู่ที่ พอง ยุบ เท่านั้น อย่าดูลมที่จมูก อย่างตะเบ็งท้อง ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่าท้องพองไปข้างหน้า ท้องยุบมาข้างหลัง อย่าให้เห็นเป็นไปว่า ท้องพองขึ้นข้างบน ท้องยุบลงข้างล่างให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด

เมื่อมีเวทนา เวทนาเป็นเรื่องสำคัญที่สุดจะต้องบังเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติแน่นอน จะต้องมีความอดทน เพื่อเป็นการสร้างขันติบารมีไปด้วย ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความอดทนเสียแล้ว การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นก็ล้มเหลว
ในขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมอยู่นั้นถ้ามีเวทนา ความเจ็บ ปวดเมื่อย คัน เกิดขึ้น ให้หยุดเดินหรือหยุดกำหนดพองยุบ ให้เอาสติไปตั้งไว้ที่เวทนาเกิดและกำหนดไปตามเป็นจริงว่า ปวดหนอๆ ๆ ๆ เจ็บหนอๆ ๆ ๆ เมื่อหนอๆ ๆ ๆ คันหนอๆ ๆ ๆ เป็นต้น ให้กำหนดไปเรื่อยๆ จนกว่าเวทนาหายไปแล้วก็กำหนดนั่งหรือเดินต่อไป

จิต เวลานั่งอยู่หรือเดินอยู่ ถ้าจิตคิดถึงบ้าน คิดถึงทรัพย์สิน หรือคิดฟุ้งซ่านต่างๆ นานา ก็ให้เอาสติปักลงที่ลิ้นปี่ พร้อมกับกำหนดว่าคิดหนอๆ ๆ ๆ ไปเรื่อยๆ  จนกว่าจิตจะหยุดคิดแม้ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ ก็กำหนดเช่นเดียวกันว่าดีใจหนอๆ ๆ ๆ เสียใจหนอๆ ๆ ๆ โกรธหนอๆ ๆ ๆ เป็นต้น

เวลานอน เวลานอนค่อยๆ เอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตาทมไปว่า นอนหนอๆ ๆ ๆ จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้วให้เอาสติมาจับที่ท้อง แล้วกำหนดว่าพองหนอ ยุบหนอ ต่อไปเรื่อยๆ ให้คอยสังเกตให้ดีว่าจะหลับไปตอนพอง หรือตอนยุบ

อิริยาบถต่างๆ การเดินไปในที่ต่างๆ การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทานอาหารน็ต็นและการกระทำกิจการทั้งปวง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะในอาการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง คือ มีสติสัมปชัญญะเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา


มุมมองที่แตกต่าง


ถ้าหากเรามองสิ่งที่อยู่ใกล้ๆตัวเรามากขึ้น... เราจะรู้สึกว่ามีความสุขเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ...
แต่...ถ้าหากเรามองห่างไกลออกไป...คุณก็จะรู้สึกว่าความสุขจะค่อยๆลดน้อยลงทุกทีเช่นกัน...

บทความนี้เขียนขึ้นโดย จอร์จ คอลลิน ซึ่งเป็นดาราตลกที่โด่งดัง
เขาเขียนขึ้นในวันที่ 11 กันยายน (ตึกเวิรด์เทรดถล่ม) หลังจากที่ทราบว่าภรรยาของเขาเสียชีวิตในตึกนั้นด้วย.
ทำ..ในสิ่งที่อยากจะทำ อยากให้ทุกคนได้อ่าน ข้อความนี้ มีความหมายดีนะ
ทุกวันนี้เรามีตึกสูงขึ้น มีถนนกว้างขึ้นแต่ความอดกลั้นน้อยลง
เรามีบ้านใหญ่ขึ้น แต่ครอบครัวของเรากลับเล็กลง
เรามียาใหม่ ๆ มากขึ้น แต่สุขภาพกลับแย่ลง
เรามีความรักน้อยลง แต่มีความเกลียดมากขึ้น
เราไปถึงโลกพระจันทร์มาแล้ว แต่เรากลับพบว่า
แค่การข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้านกลับยากเย็น...........
เราพิชิตห้วงอวกาศมาแล้ว
แต่แค่ห้วงในหัวใจกลับไม่อาจสัมผัสถึง

เรามีรายได้สูงขึ้น แต่ศีลธรรมกลับตกต่ำลง
เรามีอาหารดี ๆ มากขึ้นแต่สุขภาพแย่ลง
ทุกวันนี้ทุกบ้านมีคนหารายได้ได้ถึง 2 คน แต่การหย่าร้างกลับเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น……จากนี้ไป
ขอให้พวกเรา อย่าเก็บของดี ๆ ไว้โดยอ้างว่าเพื่อโอกาสพิเศษ
เพราะทุกวันที่เรายังมีชีวิตอยู่คือ โอกาสที่พิเศษสุดแล้ว
จงแสวงหา การหยั่งรู้
จงนั่งตรงระเบียงบ้านเพื่อชื่นชมกับการมีชีวิตอยู่
โดยไม่ใส่ใจกับความ
อยาก
จงใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูงคนที่รักให้มากขึ้น
กินอาหารให้อร่อย ไปเที่ยวในที่ที่อยากจะไป
ชีวิตคือโซ่ห่วงของนาทีแห่งความสุขไม่ใช่เพียงแค่การอยู่ให้รอด
เอาแก้วเจียระไนที่มีอยู่มาใช้เสีย
น้ำหอมดี ๆ ที่ชอบ จงหยิบมาใช้เมื่ออยากจะใช้
เอาคำพูดที่ว่าสักวันหนึ่งออกไปเสียจากพจนานุกรม
บอกคนที่เรารักทุกคนว่าเรารักพวกเขาเหล่านั้นแค่ไหน
อย่าผัดวันประกันพรุ่ง
ที่จะทำอะไรก็ตามที่ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น

ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที มีความหมาย
เราไม่รู้เลยว่าเมื่อไรมันจะสิ้นสุดลง


...และเวลานี้...
ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่มีเวลาที่จะ
copy ข้อความนี้ไปให้คนที่คุณรักอ่านแล้วคิดว่าสักวันหนึ่งค่อยส่ง..
จงอย่าลืมคิดว่าสักวันหนึ่งวันนั้น คุณอาจไม่มีโอกาสมานั่งตรงนี้เพื่อทำอย่างที่คุณต้องการอีกก็ได้

มนุษย์สัมพันธ์ ในการทำงาน



1. ซื่อสัตย์ ในทุก ๆ เรื่อง
2. หัวหน้างานจำเป็นต้องปรับปรุงความรู้ความสามารถและเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมมนุษย์  รู้จักว่าคนทำงานมีความต้องการ ทัศนคติ แรงจูงใจและความคาดหวัง แตกต่างอย่างไร
3.ต้องยอมรับว่าคนอื่นอาจมีมุมมองในสิ่งเดียวกันต่างไปจากเราก็ได้
4.ในกรณีที่มีความแตกต่างในความคิดเห็น เราต้องยอมรับว่าเราอาจไม่ใช่ฝ่ายถูกเสมอ
5.แสดงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นว่าเราสนใจในความคิดของพวกเขาและแนวคิดเหล่านั้นอาจมีส่วนในการรับปรุงงานให้ดีขึ้นได้
6.ให้ความสนใจและปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนเป็นรายบุคคลด้วยความเคารพ ไม่ควรปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและ เหมาโหล หรือทำให้พวกเขารู้สึกว่าเสียศักดิ์ศรี
7.การสั่งงานทุกขั้นตอนต้องมีเหตุผลและสามารถอธิบายได้ว่าทำไมต้องทำอย่างนั้น
8.คนเราทุกคนย่อมเบื่องานที่ซ้ำซากจำเจควรหาวิธีการปรับปรุงแต่งงานให้น่าสนใจ
9.ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพัฒนาการในหน้าที่การงาน
10.ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชาทำดี มีความชอม ความชมเชย หรือประกาศให้ทราบทั่วกันในที่สาธารณะ
11.ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชาทำผิดพลาด จะตำหนิหรือวิจารณ์ควรทำในสถานที่ส่วนตัว และการวิจารณ์ควรเป็นไปในลักษณะสร้างสรรค์มากกว่าที่จะวิจารณ์ตัวบุคคลด้วยอารมณ์โกรธหรือขุ่นเคือง
12.หัวหน้างานระดับต้นควรมีความรู้ที่จะ บริหารคน ให้เสมอเหมือนกับความรู้ในเรื่องวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี
13.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานมีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยอยู่เสมอ
14.ยุติข่าวลือที่ไม่เป็นผลดีต่อหน่วยงานต้องให้ผู้ร่วมงานได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
15.มีความยุติธรรมในการปฏิบัติต่อ ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน

....................................

พิจารณากรรมเก่า



คนเราจะดีหรือชั่วขึ้นอยู่กับผลของกรรมที่เคยทำมาในชาติก่อนๆ บางคนเกิดมาพิการ ก็เพราะว่าเขาเคยทำกรรมชนิดที่เมื่อกรรมนั้นส่งผล เขาก็จะต้องเป็นคนพิการ ซึ่งความเชื่อแบบนี้ย่อมทำให้คนพิการหมดกำลังใจที่จะต่อสู้หรือแก้ไข เพราะไม่รู่ว่ากรรมนั้นเขาทำเมื่อไหร่ ทำอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว หลักธรรมในพระพุทธศาสนาต้องศึกษาให้รู้ให้เข้าใจ จะศึกษาโดยหมั่นไปวัด ไปฟังเทศน์หรืออ่านหนังสือธรรมะ อ่านพระไตรปิฎกอ่านแล้วหากไม่เจข้าใจ ก็ไปกราบพระขอให้ท่านช่วยชี้แจงแสดงธรรมในหมวดนั้นๆ ให้ฟัง  บางเรื่องอ่านแล้ว ฟังพระเทศน์แล้วก็ยังไม่เข้าใจถ้าเป็นอย่างนี้ต้องนั่งสมาธิด้วย เจ้าชายสิทธัตถะ บรมโพธิสัตว์ปฏิบัติธรรมว่าด้วยมรรคมีองค์ ๘ ซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ยิ่งเห็นจริงธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เอง เพราะฉะนั้นเรื่องกฎแห่งกรรมที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นความจริง ไม่ต้องสงสัย ทาน ศีล ภาวนา เป็นหลักใหญ่ของทางมาแห่งบุญ พระเทศน์จะเทศน์ย่อๆ ให้ง่ายต่อการจดจำว่า ทานทำให้รวย ศีลทำให้สวย สมาธิทำให้มีปัญญา ถ้าเราเกิดมาในครอบครัวยากจน โตขึ้นพยายามขวนขวายสุดชีวิต ในที่สุดก็ลาโลกไปอย่างคนยากจน อย่างนี้ เป็นผลมาจากไม่ได้ทำบุญให้ทานเอาไว้ทั้งในอดีต แม้นปัจจุบันก็ไม่ได้ทำทาน เพราะฉะนั้นชาติต่อไป ก็จะยิ่งยากจนหนักกว่าเดิม เกิดมาไม่สวยเกิดมาพร้อมกับความพิการร่างกาย ไม่ครบอาการ ๓๒ หรือความพิการปรากฏภายหลัง เพราะป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ เหล่านี้เป็นผลมาจากผิดศีล ๕ อยากเกิดมาสวยไม่อยากพิการ ต้องตั้งใจรักษาศีล ทำให้บริสุทธิ์ ใครที่พิการอยู่แล้ว ก็จะได้พิการเป็นชาติสุดท้าย อย่าท้อถอย ต้องตั้งใจรักษาศีล ๕ เพื่อตัวเอง เกิดมามีสมองดี มีปัญญา รู้วิธีหาทรัพย์ รู้เล่ห์เหลี่ยมมนุษย์ รู้ทันกิเลส จะรู้ได้อย่างนี้ก็เพราะว่าเคยฝึกสมาธิทำภาวนา ข้ามภพข้ามชาติมาแล้วก็มาฝึกสมาธิต่อในชาตินี้ เพื่อจะได้หมดกิเลสเข้าพระนิพพานได้ ก็ขอให้ทุกๆ ท่านจงทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ ภาวนาเป็นประจำ
.............................................