วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

บทระลึำำกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


ระลึกถึงพระพุทธคุณ
(ทำนองสรภัญญะ)
...........................................
(นำ)  องค์ใดพระสัมพุทธ
(รับ)  สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลกเลสมาร                                บ่มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่ในพระทัยทาน                          ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคีบ่พันพัว                                     สุวคนธกำจร
องค์ใดประกอบด้วย                        พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร                         มละ โอฆะกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์                           และชี้สุขเกษมศานต์
ชี้ทางพระนฤพาน                          อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเลญจพิธจัก-                          ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล                          ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ                              สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง                            มละบาปบำเพ็ญบุญ
ข้าขอประณตน้อม                          ศิระเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุณ                                  ยภาพนั้นนิรันดร
                                                            (กราบหรือน้อมไหว้)
.............................................

ระลึกถึงพระธรรมคุณ
(ทำนองสรภัญญะ)
...........................................
(นำ)  ธรรมะคือคุณากร
(รับ)  ส่วนชอบสาธร
ดุจดาวประทีปชัชวาล               แห่งองค์พระศาสดาจารย์                 ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมล                    ธรรมใดนับโดยมรรคผล                   เป็นแปดพึงยล
และเก้ากับทั้งนฤพาน              สมญาโลกอุดรพิสดาร                       อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส                     อีกธรรมต้นทางครรไล                      นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง                คือทางดำเนินดุจคลอง                      ให้ล่วงลุปอง
ยังโลกอุดรโดยตรง                   ข้าขอโอนอ่นอุตมงค์                         นบธรรมจำนง
ด้วยจิตและกายวาจา
                                                                                                                     (กราบหรือน้อมไหว้)
.............................................


ระลึกถึงพระสังฆคุณ
(ทำนองสรภัญญะ)
...........................................
(นำ)  สงฆ์ใดสาวกศาสดา
(รับ)  รับปฏิบัติมา
แด่องค์สมเด็จภควันต์                 เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร-                ลุทางที่อัน
ระงับและดับทุกข์ภัย                   โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร                 ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศมัวหมอง         เหินห่างทางข้าศึกปอง                   บ่มิลำพอง
ด้วยกายและวาจาใจ                     เป็นเนื้อนาบุญอัมไพ-                    ศาลแด่โลภัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล                   สมญาเอารสทศพล                         มีคุณอนนต์
อเนกจะนับเหลือตา                     ข้าขอนบหมู่พระศรา                      พกทรงคุณา
นุคุณประดุจรำพัน                       ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์                    พระไตรรัตน์อัน
อุดมดิเรกนิรัติสัย                          จงช่วยขจัดโพยภัย                           อันตรายใดใด
จงดับและกลับเสื่อมสูญ
                                                                                                                     (กราบหรือน้อมไหว้)
.............................................


บทระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์


                          หันทะ มะยัง อาจาริยะคุณัง กะโรมะ เส
                                ...........................................
         อิมินา สักกาเรนะ                  ข้าขอน้อมคารวะบูชา
อันคุณพระอุปัชฌายา                    ผู้ให้การศึกษาและอบรม
เริ่มต้นจากวัยประถม                      ให้วิทยาคมเสมอมา
เพิ่มพูนสติและปัญญา                   อีกวิชาศีลธรรมประจำใจ
ท่านชี้ทางสว่างสดใส                     ทั้งระเบียบวินัยประจำตน
ศิษย์ที่ดีต้องหมั่นฝึกฝน                 ให้ประพฤติตนตลอดไป
จงสังวรสำรวมเอาไว้                      ทั้งกายใจให้มั่นคง
ตั้งจิตไว้ให้เที่ยงตรง                       เพื่อจรรโลงในพระคุณ
ขอผลบุญโปรดจงเกื้อหนุน           อาจารย์ผู้มีพระคุณทุกท่าน เทอญฯ
             .............................................

ข้อคิดจากไม้บรรทัด


       ไม้บรรทัด เป็นอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่ง สำหรับทาบเป็นแนวเพื่อขีดเส้นให้ตรง การเขียนหนังสือ ถ้ามีเส้นบรรทัดกำหนดไว้ ย่อมจะทำให้สามารถเขียนได้ตรง ตัวหนังสือเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม อ่านแล้วสบายตาและเข้าใจสิ่งที่เขียนนั้นได้ถูกต้อง 

        เมื่อหันมาพิจารณาคนเราก็พบว่า สิ่งที่เปรียบเหมือนไม้บรรทัด ก็คือ วินัย นั่นเอง วินัยนั้น เมื่อว่าในแง่มูลเหตุการเกิด มี ๒ ทาง คือ 

       ๑. วินัยที่เกิดจากสาเหตุภายนอก หมายถึง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ที่เกิดจากการใช้มาตรการให้แต่ละคนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กติกา ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียม มารยาทต่าง ๆ วินัยประเภทนี้ฝึกขึ้นได้ก็จริงอยู่ แต่มักไม่คงทนถาวร เพราะเกิดจากสภาพบังคับ ผู้ที่ไม่พอใจบางคนจึงอาจละเลยหรือวางเฉยไม่ปฏิบัติตามได้เมื่อไม่มีใครรู้เห็น 

        ๒. วินัยที่เกิดจากสาเหตุภายใน หมายถึง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเกิดจากการที่จิตใจของแต่ละคนมองเห็นคุณประโยชน์ของกฎเกณฑ์กติกา เป็นต้นนั้น แล้วยินดีปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ มีความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติ วินัยประเภทนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถตั้งอยู่ได้ยั่งยืน แม้ไม่มีใครรู้เห็นก็สมัครใจที่จะปฏิบัติ 

       ขึ้นชื่อว่าวินัยถ้าพร้อมใจกันปฏิบัติก็จะก่อให้เกิดระเบียบ ขจัดความยุ่งยากวุ่นวายช่วยให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เป็นเกียรติและศักดิ์ศรีแก่ผู้ปฏิบัติ เป็นที่พึงประสงค์ของผู้อื่น ดังนั้น การศึกษาและปฏิบัติตามวินัย โดยเฉพาะวินัยที่เกิดจากภายใน จึงเป็นสิ่งที่ควรสร้างให้เกิดมีขึ้นโดย

ดอกบัวหรือตัวหนอน


      บัวหลวงเป็นไม้น้ำ มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบอยู่ห่างๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอก ขึ้นพ้นผิวน้ำ ดอกบัวหลวง มีกลิ่นหอม สุขุมนุ่มนวล นิยมใช้บูชาพระ และใช้เป็นเครื่อง สักการบูชา ในพิธีต่างๆ ดอกบัวหลวง มีลักษณะพิเศษ ๓ อย่าง คือแม้จะเกิด จากโคลนตม แต่ก็ไม่แปดเปื้อน ด้วยโคลนตม แม้จะเกิดจากสิ่ง ที่เหม็นสกปรก แต่กลับมีกลิ่นหอม และแม้จะเกิด ในที่ต่ำแต่ก็มีค่า ควรแก่การประดับไว้ ในที่สูง 

       ตัวหนอนเป็นสัตว์ ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวยาวอ่อนนิ่ม ส่วนมากเกิด และอยู่ในที่สกปรก มีลักษณะสามัญทั่วไปคือ เกิดที่ไหน ก็เกลือกกลั้ว อยู่ในที่นั้น เกิดจากสิ่งสกปรก ก็เหม็นเน่าไปตาม สิ่งสกปรกนั้น และเกิดอยู่ ในที่ไหน ส่วนมากก็ตาย อยู่ในที่นั้นนั่นเอง

     ผู้รู้ท่านบอกว่า คนเรามีทั้งธาตุดอกบัว และตัวหนอนอยู่ในตัว และมีความเชื่อกันว่า คนเราถ้าเกิดมา และอยู่ในสิ่ง แวดล้อมที่ไม่ดี ก็มักจะเป็นคนไม่ดี หรือมีแนวโน้มว่า จะทำชั่วได้ง่าย แต่พระพุทธศาสนา เชื่อว่าคนเรา สามารถฝึกกันได้ ถ้าฝึกให้ดี ให้ถูกทาง ธาตุดอกบัว ก็จะงอกงาม แต่ถ้าไม่ฝึก ปล่อยไปตามบุญ ตามกรรม ธาตุตัวหนอน ก็จะเติบโตขึ้น เพราะฉะนั้น แหล่งกำเนิด จึงไม่สำคัญ เท่ากับการ ฝึกฝนพัฒนา ถ้าฝึกดีถึงระดับ ที่สามารถงดเว้น ความชั่วได้เด็ดขาด และทำแต่ความดี ด้วยความจริงใจ และใช้ปัญญาแล้ว แม้จะอยู่ท่ามกลาง ความสกปรก ก็จะไม่แปดเปื้อน แม้จะอยู่ท่ามกลาง ความเน่าเหม็น ก็ย่อมจะมี เกียรติคุณหอมหวน และแม้จะอยู่ ในที่ต่ำทราม ก็จะปรากฏ คุณค่าอันสูงส่ง เป็นที่เห็น ประจักษ์ทั่วไป ตรงกันข้าม ถ้าไม่ฝึกฝนขัดเกลาตัวเอง ปล่อยตัวปล่อยใจ ให้ไหลเลื่อนลอย ไปตามกระแสโลก ธาตุตัวหนอน คือ ความเสื่อมทรามในตัว ก็จะเติบโตขึ้น ทำให้ชีวิต มีแต่แปดเปื้อน ความสกปรก เน่าเหม็น และจมอยู่ ในความมืดมน  

    จะเป็นดอกบัว หรือตัวหนอน ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง โปรดตัดสินใจ เลือกเป็นกัน ให้ถูกทางเทอญ 

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

บทสวดชยสิทธิคาถา


บทสวดชยสิทธิคาถา
(ทำนองสรภัญญะ)
...........................................
(นำ)  ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุทธ
(รับ)  ธะวิสุทธศาสดา
ตรัสรู้ อะนุตตะระสะมา                         ธิ ณ โพธิบัลลังก์     
         ขุนมารสหัสสะพหุพา                    หุวิชาวิชิตขลั
ขี่คีรีเมขละประทัง                                    คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ
         แสร้งเสกสะราวุธะประดิษฐ์         กละคิดจะรอนราน
รุมพลพหลพยุหะปาน                             พระสมุททะนองมา
         หวังเพื่อผจญวะระมุนิน                ทะสุชินนะราชา
พระปราบพหลพยุหะมา-                       ระมะเลืองมะลายสูญ
         ด้วยเดชะองค์พระทศพล               สุวิมลละไพบูลย์
ทานาธิธรรมะวิธิกูล                                 ชนะน้อมมะโนตาม
         ด้วยเดชะสัจจะวจนา                       และนะมามิองค์สาม
ขอจงนิกรพละสยาม                                ชยะสิทธิทุกวาร
         ถึงแม้จะมีอริวิเศษ                           พละเดชชะเทียมมาร
ขอไทยผจญพิชิตตะผลาญ                      อริแม้มุนินทร...
                                                                                                                     (กราบหรือน้อมไหว้)

นะมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ


นะมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ
(นำ) หันทะ มะยัง สะระภัญเญนะ พุทธะมังคะละคาถาโย ภะณามะ เส ฯ
.............................................
                      สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ              นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ                               อาคะเณยเย จะ กัสสะโป
สาริปุตโต จะ ทักขิเณ                                           หะระติเย อุปาสิ จะ
ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท                                          พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร                                    อิสาเณปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา                                        สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ                                          สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ                                             สัพพะโสตถิ ภะวันตุ โนฯ
                      อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
                      นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
                      ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง นะ ลัตถัง
                      ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย ฯ
                      .............................................

พระคาถาโพธิบาท



                บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง  บูระพารัสมิง พระธรรมเมตตัง  บูระพารัสมิง พระสังฆานัง 
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร  วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขัตุ
                อาคะเนยรัสมิง พระพุทธะคุณัง  อาคะเนยรัสมิง พระธรรมเมตตัง  อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง 
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร  วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขัตุ
                ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง  ทักษิณรัสมิง พระธรรมเมตตัง  ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง 
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร  วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขัตุ
                หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง  หรดีรัสมิง พระธรรมเมตตัง  หรดีรัสมิง พระสังฆานัง 
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร  วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขัตุ
                ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง  ปัจจิมรัสมิง พระธรรมเมตตัง  ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง 
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร  วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขัตุ
                พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง  พายัพรัสมิง พระธรรมเมตตัง  พายัพรัสมิง พระสังฆานัง 
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร  วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขัตุ
                อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง  อุดรรัสมิง พระธรรมเมตตัง  อุดรรัสมิง พระสังฆานัง 
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร  วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขัตุ
                อิสานรัสมิง พระพุทธะคุณัง  อิสานรัสมิง พระธรรมเมตตัง  อิสานรัสมิง พระสังฆานัง 
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร  วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขัตุ
                ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง  ปฐวีรัสมิง พระธรรมเมตตัง  ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง 
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร  วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขัตุ
                อากาศรัสมิง พระพุทธะคุณัง  อากาศรัสมิง พระธรรมเมตตัง  อากาศรัสมิง พระสังฆานัง 
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร  วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขัตุ

.........................................

คำสวดมงคลแปดทิศ



                อิมัสมิงมงคลจักรวาลทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่วอนัตตา ราชะเสมานาเขตเตสะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ
                อิมัสมิงมงคลจักรวาลทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่วอนัตตา ราชะเสมานาเขตเตสะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ
                อิมัสมิงมงคลจักรวาลทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่วอนัตตา ราชะเสมานาเขตเตสะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ปัจเจกะพุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ
                อิมัสมิงมงคลจักรวาลทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่วอนัตตา ราชะเสมานาเขตเตสะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ สังฆะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ
.........................................

อริยมรรคมีองค์แปด


                   หันทะ มะยัง อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง ภะณามะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงสวดบาลีแสดงอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดเถิด.
..........................................
                   (มรรคมีองค์แปด)
อายะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,             หนทางนี้และเป็นหนทาง อันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด
เสยยะถีทัง,                                                          ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ
สัมมาทิฏฐิ                                                           ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป                                                   ความดำริชอบ
สัมมาวาจา                                                           การพูดจาชอบ
สัมมากัน มันโต                                                 การทำงานชอบ
สัมมาอาชีโว                                                       การเลี้ยงชีพชอบ
สัมมาวายาโม                                                      ความพากเพียรชอบ
สัมมาสะติ                                                           ความระลึกชอบ
สัมมาสะมาธิ                                                      ความตั้งใจชอบ
                   (องค์มรรคที่หนึ่ง)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ                    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นชอบ เป็นอย่างไรเล่า
ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง                            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้อันใด เป็นความรู้ในทุกข์
ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง                                     เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
ทุกขะนีโรเธ ญาณัง                                           เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์
ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง       เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ
                   (องค์มรรคที่สอง)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริชอบ เป็นอย่างไรเล่า
เนขัมมะสังกัปโป                                              ความดำริในการ ออกจากกาม
อะพยาปาทะสังกัปโป                                       ความดำริในการ ไม่มุ่งร้าย
อะวิหิงสาสังกัปโป                                            ความดำริในการไม่เบียดเบียน
อะยัง วุจจะติ ภิกขะ เว สัมมาสังกัปโป         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ
                   (องค์มรรคที่สาม)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา                    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดจาชอบเป็นอย่างไรเล่า
มุสาวาทาเวระมะณี                                           เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก การพูดไม่จริง
ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี                            เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก การพูดส่อเสียด
ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี                           เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก การพูดหยาบ
สัมผัปปะลาปา เวระมะณี                                เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก การพูดเพ้อเจ้อ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า การพูดจาชอบ
                   (องค์มรรคที่สี่)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำงานชอบเป็นอย่างไรเล่า
ปาณาติปาตา เวระมะณี                                    เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก การฆ่า
อะทินนาทานา เวระมะณี                                เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี                           เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า การทำงานชอบ
                   (องค์มรรคที่ห้า)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีวิตชอบเป็นอย่างไรเล่า
อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้
มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ                                       ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย
สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ                         ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตชอบ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว              ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ
                   (องค์มรรคที่หก)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม              ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพากเพียรชอบเป็นอย่างไรเล่า
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ                                             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อนุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
                                                                               ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหาปานายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
                                                                               ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง อุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
                                                                               ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตใจไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา อะสัมโมสายะ ภิยโยภาวายะ เวปุลายะ ภาวะนายะ ปาริปูริยา ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิระยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
                                                                               ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความพากเพียรชอบ
                   (องค์มรรคที่เจ็ด)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ                    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบเป็นอย่างไรเล่า
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ                                             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
กาเย กาเยนุปัสสี วิหะระติ                               ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
อาตาปิ สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะ นิสสัง
                                                                               มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ               ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
อาตาปิ สัมปะชาโนสะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
                                                                               มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
ธัมเมสุ ธัมมา นุปัสสี วิหะระติ                       ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
อาตาปิ สัมปะชาโนสะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
                                                                               มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความระลึกชอบ
                   (องค์มรรคที่แปด)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นชอบเป็นอย่างไรเล่า
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ                                             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
วิวิจเจวะ กาเมหิ                                                 สงัดแล้วจากกาเมทั้งหลาย
วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ                              สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย
สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัง ปิติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
                                                                               เข้าถึงปฐมญาณ ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่
วิตตักกะวิจารานัง วูปะสะมา                          เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสอง ระงับลง
อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง สะมาธิชัง ปิติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ                   เข้าถึงทุติยญาณ เป็นเครื่องผ่องใส แห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่
ปิติยา จะ วิราคา                                                  อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่ง
ปิติยา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัมปะชาโน               ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปะชัญญะ
สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ                       และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย
ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารี ติ        
                                                                               ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนั้น
ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ         เขาถึง ตติยฌานแล้ว แลอยู่
สุขัสสะ จะ ปะหานา                                        เพราะละสุขเสียได้
ทุกขัสะ จะ ปะหานา                                         และเพราะละทุกข์เสียได้
ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา      เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน
อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขา สะติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง อุปสัมปัชชะ วิหะระติ
                                                                               เข้าถึงจตุตะฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข  มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
อะยัง วุจจะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ
..........................................

คำสาธุการเมื่อพระเทศน์จบ


   เมื่อพระแสดงธรรมจบ ให้รับสาธุการพร้อมกันด้วยถ้วยคำต่อไปนี้
(ว่าเป็นวรรค หยุดตามที่จุดไว้)
สาธุ พุทธะสุโพธิตา,  สาธุ                        ความตรัสรู้ดีจริงของพระพุทธเจ้า.
สาธุ ธัมมะสุธัมมะตา, สาธุ                       ความธรรดีจริงของพระธรรม.
สาธุ สังฆัสสะฏิปัตติ, สาธุ                        ความปฏิบัติดีจริงของพระสงฆ์.
   อะโห  พุทโธ,                                          พระพุทธเจ้า น่าอัศจรรย์จริง.
   อะโห ธัมโม,                                            พระธรรมเจ้า น่าอัศจรรย์จริง.
   อะโห สังโฆ,                                            พระสงฆ์เจ้า น่าอัศจรรย์จริง.
อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังมัญจะ สะระณัง คะตา. *
                   ข้าพเจ้าถึงแล้ว, ซึ่งพระพุทธเจ้า, พระธรรมเจ้า, พระสงฆ์เจ้า, ว่าเป็นที่พึงระลึกถึง.
อุปาสิกัตตัง.* เทเสสิง ภิกขุสังฆัสสะ สัมมุขา. (ถ้าเป็นอุบาสกเปลี่ยน อุปาสิกัตตัง เป็น อุปาสะกัตตัง)
                   ข้าพเจ้าขอแสดงตน. ว่าเป็นอุบาสิกา (/อุบาสก), ในที่จำเพาะหน้า พระภิกษุสงฆ์.
เอตัง เม สะระณัง เขมัง, เอตัง สะระณะมุตตะมัง.
                   พระรัตนตรัยนี้. เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าอันเกษม, พระรัตนตรัยนี้, เป็นที่พึ่งอันสูงสุด.
เอตัง สะระณะมาคัมมะ, สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย.
                   เพราะอาศัยพระรัตนตรัยนี้ เป็นที่พึ่ง.  ข้าพเจ้าพึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง.
ยะถาพะลัง จเรยยาหัง สัมาสัมพุทธะสาสะนัง.
                   ข้าพเจ้าจักประพฤติ, ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอน, ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, โดยสมควรแก่กำลัง.
ทุกขะนิสสะระณัสเสวะ ภาคินิสสัง* อะนาคะเต. (ถ้าเป็นอุบาสกเปลี่ยน  ภาคินิสสัง เป็น ภาคีอัสสัง)
                   ขอข้าพเจ้าพึงมีส่วนแห่งพระนิพพาน, อันเป็นที่ยกตนออกจกทุกข์, ในอนาคตกาล, เบื้องหน้าโน้น เทอญ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ติ,
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
สันทิฏฐิโก อะกาลิโล เอหิปัสสิโก,
โอปะนะยิโก ปัตจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ.
(กล่าวจบแล้ว คอยฟังพระ ยถา สัพพี, จบแล้วกรวดน้ำ)
..........................................