วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตะพาบ


เรื่องเล่า – บันทึกกรรม
                ลูกพี่ลูกน้องของข้าพเจ้าคนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลของรัฐ ในต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง  ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียน หมอน้องชายเล่าเรื่องแปลกๆ ของคนไข้รายหนึ่งให้ฟัง จึงขอเล่าต่อสู่กันฟัง...
                โรงพยาบาลแห่งนั้นเป็นโรงพยาบาลขนาดกลางประจำอำเภอซึ่งมีคนไข้ไม่มาก เพราะถ้าเป็นคนที่พอมีฐานะสักหน่อย หากมีอาการน่าเป็นห่วง ก็มักจะส่งตรงไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯ ฉะนั้นหมอน้องชายจึงต้องรับหน้าที่เป็นทั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นแพทย์เฉพาะทาง (ทุกโรค) เป็นศัลยแพทย์ผ่าตัด และแม้กระทั่งเป็นแพทย์เวร จากการสนทนาตอนหนึ่งหมอน้องชายเล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เป็นหมอมาไม่เคยเห็นผู้ป่วยรายใดต้องผ่าตัดทุกลักทุเลซ้ำซากอย่างนี้เลย สามปีต้องตัดห้าครั้งและหนักหนายิ่งขึ้นทุกครั้ง ผู้ป่วยรายนี้ชื่อ “บุญมา” ครั้งแรกเข้าโรงพยาบาลก็เพื่อมาทำแผลนิ้วก้อย (นิ้วเท้า) ที่ถูกตะพาบน้ำกัด หมอให้ทายา กินยาแก้ปวด แก้อักเสบ แล้วให้กลับบ้านได้ ดูแล้วไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ครึ่งเดือนต่อมา บุญมากลับมาใหม่ แผลเก่าอักเสบรุนแรงบวมใหญ่ หมอตรวจพบว่าเชื้อโรคกินเข้ากระดูก ถึงขั้นจะต้องตัดนิ้วเท้าเพื่อไม่ให้เน่าลุกลามจนอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลังจากนั้นครึ่งปี บุญมาไปเที่ยวเล่นน้ำ เขาถูกตะพาบกัดที่นิ้วเท้าอีก อะไรจะบังเอิญได้ถึงขนาดนั้น นิ้วเท้าของบุญมาซึ่งถูกตะพาบกัดครั้งที่สองอักเสบบวมภายในเวลาไม่ถึงสองวัน เมื่อฉายเอ็กซเรย์ก็พบว่า เชื้อโรคกินเข้าไปถึงกระดูก จึงต้องตัดนิ้วเท้าของเขาไปอีกหนึ่งนิ้ว
                เวลาผ่านไปไม่ถึงหนึ่งปี นายบุญมากลับมาที่โรงพยาบาล ครั้งนี้แผลเก่าทั้งสองแห่งเกิดอักเสบบวมใหญ่ขึ้นมาพร้อมๆ กัน พอเอ็กซเรย์ก็พบว่าแย่แล้ว เชื้อโรคแพร่เข้าไปกินถึงกระดูกอย่างรุนแรง ลึกมาก เชื้อโรคนั้นกำลังก่อตัวคล้ายมะเร็ง จะต้องตัดฝ่าเท้าออกให้หมด ก่อนที่จะลุกลามไปกันใหญ่ บุญมาต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลถึงยี่สิบกว่าวันด้วยสภาพของผู้ป่วยอวัยวะด้วน
                วันหนึ่งลูกชายของญาติบุญมา มาอุปสมบท เขาจึงไปช่วยงาน คืนนั้นผู้ร่วมงานบวชนอนค้างที่วัดกันสี่ห้าสิบคน เคราะห์หามยามร้ายของบุญมายังไม่จบสิ้น หนูตัวหนึ่งเจาะจงมากัดตรงขาด้วนๆ ของเขาคนเดียว คนอื่นๆ ตั้งมากมายก็ไม่เห็นโดนอะไร บุญมาสะดุ้งตื่นด้วยความเจ็บปวด คนที่นอนอยู่ด้วยกันตกใจกับเสียงร้อง พากันตื่นหมด แผลที่หนูกัดไม่กว้าง ไม่ลึกนัก มีเลือดซึมออกมาเพียงเล็กน้อย แต่ทุกคนก็พากันตกใจที่อยู่ดีๆ ทำไมมีหนูมากัดคนนอนหลับ เห็นแต่หนูมักจะกัดกินก็เฉพาะศพเท่านั้น ไม่ค่อยจะพบหนูกัดคนเป็นๆ บุญมาขวัญเสียเป็นอันมาก เขาถูกเคราะห์กรรมซ้ำเติมจนคิดว่าตนคงจะต้องตายในไม่ช้า มันทารุณจิตใจตลอดเวลา ไม่นานต่อมาก็เกิดอาการเจ็บคันบริเวณแผลเก่าที่เท้าอีก บุญมาจึงรีบไปหาหมอโดยเร็ว ผลการฉายเอ็กซเรย์ครั้งนี้ปรากฏว่าเชื้อมะเร็งลามลึกเข้าไปอย่างมาก จำเป็นต้องจัดการตัดขาทั้งท่อนทิ้งไป หมอน้องชายซึ่งเป็นเจ้าของไข้แปลกใจในชะตากรรมของบุญมายิ่งนัก จึงพูดคุยซักถามประวัติย่ออย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ได้ความว่า บุญมาชายอายุสี่สิบสามปี อาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างก่อสร้าง ชอบดื่มเหล้าเป็นประจำ ชอบแกล้มเหล้าด้วยปลาน้ำจืด โดยเฉพาะชอบกินเต่า กินตะพาบ บุญมาเคยได้ยินมาและเป็นความเชื่อฝังใจว่าใครกินตะพาบน้ำได้สิบถึงยี่สิบตัวแล้ว ตลอดชีวิตจะไม่เป็นโรคไขข้ออักเสบเลย อีกทั้งยังช่วยบำรุงไต บุญมาจึงเพียรหาตะพาบน้ำมาผัดเผ็ดแกล้มเหล้าขาวกิน
                บุญมากินตะพาบน้ำมาแล้วไม่ใช่แค่ยี่สิบตัว แต่กินมาเป็นเวลาเกือบยี่สิบปี ซึ่งนับไม่ถ้วนว่าที่ผ่านกินเข้าไปได้กี่ตัวกันแน่ บุญมาเล่าว่า วันหนึ่งเขาซื้อตะพาบน้ำตัวใหญ่มาจากตลาด ตะพาบน้ำตัวนี้น้ำหนักตั้งสิบกว่ากิโลกรัม เขาดีใจมาก ตัวใหญ่ๆ ขนาดนี้ฆ่ากินทีเดียวไม่หมด จะต้องค่อยๆ กิน ที่บ้านก็ไม่มีตู้เย็นให้แช่เก็บ จึงต้องกินผ่อนทีละน้อย ตะพาบเป็นสัตว์อายุยืน อดทนมา ไม่ตายง่ายๆ ไม่ว่าจะถูกกักขังอยู่ในสภาพใดก็อดทนสามารถรักษาชีวิตอยู่ได้เป็นปี บุญมาแค่เห็นแก่กิน ไม่นึกว่าตะพาบจะต้องทนทุกข์ทรมาน ต้องเจ็บปวดแสนสาหัสอย่างไร ครั้งแล้ว ครั้งเล่า เขาตัดเฉือนเนื้อตะพาบตามส่วนต่างๆ ที่ละชิ้นๆ อย่างบรรจงมาปรุงอาหารตามความพอใจ บาดแผลรอบตัวตะพาบ เขาทาด้วยปูนแดงที่กินกับหมากเพื่อไม่ให้เนื้อที่ตัวตะพาบเน่า ตะพาบตัวนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่นานกว่าครึ่งเดือน จากนั้นบุญมาจึงประหารตะพาบ เอามากินเป็นมื้อสุดท้าย บุญมาพอใจกับวิธีที่ได้กินตะพาบแบบสดๆ ทุกวัน
                ผลสรุปประวัติผู้ป่วยที่โรงพยาบาลบันทึกไว้ในตอนท้าย มีอยู่ประโยคหนึ่งว่า... เป็นประวัติที่แสดงให้เห็นเหมือนกรรมตามทันอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ไม่มีข้อสรุปชัดเจนในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ปัจจุบัน ซึ่งอยากจะเล่าเอาไว้ตรงนี้ น่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้คนละบาปได้ดี...
                “กรรมมีอยู่                            กมฺมํ
                  เหตุแห่งกรรมมีอยู่           กมฺมสมุทโย
                  การดับกรรมมีอยู่              กมฺมนิโรโธ

                  หนทางดับกรรมก็มีอยู่     กมฺมมคฺโค”  ...พุทธวจนะ

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทแผ่เมตตา

บทแผ่เมตตาให้กับตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ               ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ                     ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ                        ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ                ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ                        ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ   มีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

.................................................

บทแผ่เมตตาสรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา
             สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวราโหนตุ
             จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่างได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ
             จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ
             จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
             จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ
.................................................

บทกรวดน้ำแบบย่อ
อิทัง เม ญาตินังโหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโยฯ
             ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลาย จงมีความสุขใจเถิด 

บทแผ่ส่วนกุศล


อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิ ตะโร
             ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
             ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
             ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
             ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
             ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เว รี
             ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
             ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

.................................................

บทกรวดน้ำของยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก


             อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าได้สร้าง และสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ขอให้ค้ำชูอุดหนุนคุณบิดา มารดา พระมหากษัตริย์ ผู้มีพระคุณ ญาติกา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร และมิตรรักสนิท เพื่อนสรรพสัตว์น้อยใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พญายมราช นายนิริยบาล ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ศิริคุตอำมาตย์ชั้นจาตุมหาราชิกาเบื้องบนสูงสุดจนถึงภวัคระพรหม และเบื้องล่างต่ำสุดตั้งแต่โลกันตมหานรก และอเวจีขึ้นมาจนถึงโลกมนุษย์ สุดรอบขอบจักรวาล อนันตจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลาย ตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุขขอให้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาลเบื้องหน้าเทอญฯ

พุทธัง อะนันตัง ธัมมังจักกะวาลัง สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโย โหนตุ

คาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (ฉบับเดิม)


             ๑.  อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา
                   อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา
                   อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระ ณะสัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา
                   อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา
                   อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา
                   อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ
                   อะระหันตัง สิระสา นะมามิ
                   สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
                   สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
                   วิชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ
                   วิชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
                   สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
                   สุคะตัง สิระสา นะมามิ
                   โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
                   โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ
             ๒. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา
                   อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา
                   อิติปิ โส ภะคะวา เทวะมะนุสสานัง วะตะโส ภะคะวา
                   อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา
                   อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
                   อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
                   ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
                   ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
                   สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
                   สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
                   พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
                   พุทธัง สิระสา นะมามิ
             ๓. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะสัมปันโน
             ๔. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา อาโป ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา เตโช ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา วาโย ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
             ๕. อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
             ๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
             ๗. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
             ๘. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
                   อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
             ๙.  กุสะลาธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ชัมภูทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ ปัญจะพุทธา นะมามิหัง อาปามะจุปะ ทีมะ สังอังขุ สังวิธา ปุกะยะปะ อุปะสะชะสะเห ปาสายะโสฯ โสโสสะสะ อะอะ อะอะนิ เตชะสุ เนมะภูจะนาวิ เว อะสังวิสุโลปุสะพุภะ อิสวาสุ สุสวาอิ กุสะลาธัมมา จิตติ วิอัตถิ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอายาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญจะ อิสสะโร ธัมมา กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
             ๑๐. จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลาธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลาธัมมานันทะปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ยามา อิสสะโร กุสะลาธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะ สัตตะ สัตตา ปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตุสิตา อิสสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะ ปะกะ ปุรี สะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะสัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ พรหมา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิฯ
             ๑๑. นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา กะระ กะนา เอเตนะ สัจเจนะ      สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
                   นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
                   อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมสาวัง มะหาพรหมสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชาธาระณังสาวัง สัพพะโลกาอิริยานังสาวัง      
                   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยังสิทธิ กัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญานิกขังปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ
             ๑๒. นะโมพุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา
                   นะโมธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สะวากขาโต ภะคะวาธัมโม
                   นะโมสังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ วาหะปะริตตัง
                   นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโย โมนะอุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอะ วันทา นะโมพุทธายะนะอะ กะตินิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตาฯ
วิปัสสิต
สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา วินาสสันตุ

.................................................

ชัยปริตร



                มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะ ปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุเม* ชะยะมังคะลังฯ
                ชะยันโตโพธิยา มูเล สักยานัง นันทิ วัฑฒะโน เอวัง อะหัง วิชะโย โหมิ** ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะ ปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปก ขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ*** จาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโน กัมมัง ปะณีธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณา กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
                ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทาโสตถี ภะวันตุเม*
                ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทาโสตถี ภะวันตุเม*
                ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทาโสตถี ภะวันตุเม*
               
หมายเหตุ
โหตุเม*  ถ้าสวดให้คนอื่นให้เปลี่ยนเป็น โหตุเต
อะหัง วิชะโย โหมิ** ถ้าสวดให้คนอื่นให้เปลี่ยนเป็น ตะวัง วิชะโย โหหิ
พรัหมะ***  อ่านว่า  พรัม-มะ
ภะวันตุเม* ถ้าสวดให้คนอื่นให้เปลี่ยนเป็น ภะวันตุเต

.................................................

ชัยมงคลคาถา (พาหุง)


                พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา        ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม* ชะยะมังคะลานิ
                มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะ ถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา       ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม*  ชะยะมังคะลานิ
                นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิ จักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา             ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม*  ชะยะมังคะลานิ
                อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติ โยชะนะปะถังคุลิมา ละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน        ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม*  ชะยะมังคะลานิ
                กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรังอิวะ คัพภินียา จิญจา ยะ ทุฏฐะวะจะนังชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา  ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม*  ชะยะมังคะลานิ
               สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิ โรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต        ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม*  ชะยะมังคะลานิ
                นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเต นะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา    ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม*  ชะยะมังคะลานิ
                ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง** วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา     ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม*  ชะยะมังคะลานิ
                เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วา จะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะ เนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิ คะเมยยะ นะโร สะปัญ โญ
หมายเหตุ
ภะวะตุเม*  ถ้าสวดให้คนอื่นให้เปลี่ยนเป็น ภะวะตุเต
พรัหมัง**  อ่านว่า  พรัม-มัง


.................................................